แนวโน้มทางการตลาดมักเปลี่ยนแปลงและเกิดขึ้นใหม่เสมอ สำหรับนักการตลาดและเจ้าของกิจการแล้วเรื่องนี้ถือเป็นเรื่องที่จำเป็นต้องอัปเดตความรู้ให้ทันกับกระแสความเปลี่ยนแปลงที่มีอยู่ตลอดเวลา
ยักษ์ย๊ากส์จึงมาอัปเดตแนวโน้มของทิศทางการตลาดออนไลน์ในปี 2022 ที่เป็นแนวโน้มซึ่งเกิดจากวิกฤตการณ์โควิด-19 ที่ทำให้พฤติกรรมของคนเปลี่ยนไป พร้อม ๆ กับนวัตกรรมที่เกิดขึ้นใหม่เพื่อรองรับพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งแนวโน้มที่เราจะพูดถึงในวันนี้มีทั้งหมด 7 แนวโน้มด้วยกัน ดังนี้
เพราะการระบาดของโควิด-19 ในหลายปีที่ผ่านมา ทำให้ทุกธุรกิจเกิดการปรับตัวจากการขายออฟไลน์เป็นการขายแบบออนไลน์มากยิ่งขึ้น โดยเมื่อก่อนช่องทางออนไลน์อาจเป็นเพียงแค่ช่องทางในการสื่อสาร รับข่าวสาร ติดตามคอนนเทนต์ หรือเป็นช่องทางที่มีไว้สำหรับผู้คุยกับลูกค้าเท่านั้นฮะ
แต่ในปัจจุบันแบรนด์ต่าง ๆ เริ่มมีการปิดการขายผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น แม้กระทั่งสินค้าประเภทที่โดยมากลูกค้าต้องการเห็นสินค้าก่อนอย่างเช่น รถยนต์ เมื่อเป็นเช่นนี้ทางแบรนด์จึงต้องเตรียมความพร้อมที่จะทำให้ช่องทางการซื้อ-ขายออนไลน์กลายเป็นกระแสหลัก และสามารถทำธุรกิจได้อย่าง End to End โดยเริ่มจากการสะสม Digital Footprint หรือคือการสร้างตัวจนที่ชัดเจนในโลกออนไลน์ ก่อตั้งทีมที่จะดูแลในด้านการตลาดออนไลน์ตามความเหมาะสม
เช่น Content Creator, Ad Optimizer, SEP Specialist เป็นต้น
หากให้เล่าโดยคร่าว Web 1.0 จะเป็นเว็ปที่เน้นการอ่านเพียงอย่างเดียวเลยฮะ เหมือนเว็ปไซต์ของยุคแรก ๆ ที่อินเตอร์เน็ตเพิ่งเข้าถึงได้ไม่นาน Web 2.0 จะเป็นเว็ปที่เริ่มมี Social Network และ Mobile เช่น Facebook, Instragram
อย่างไรแล้วกลุ่มคำอย่าง Crypto Currency, NFT, Blockchain เป็นแนวโน้มของการเติบโตของยุค Web 3.0 ที่เป็นเว็ปไซต์ในยุคอนาคตที่จะเริ่มมีการนำ AI มาขับเคลื่อ วิเคราะห์พฤติกรรมของผู้บริโภค เพื่อการนำข้อมูลไปใช้ต่อสำหรับการปิดการขายฮะ
นอกจากนี้เว็ปไซต์ 3.0 จะเป็นการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลและใช้สกุลเงินดิจิทัลในการแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้าและบริการอีกด้วยฮะ ตัวอย่างแบรนด์ที่ได้มีการขยับเข้ายุค Web 3.0 แล้วคือ Major Cineplex ที่สามารถซื้อตั๋วภาพยนต์ด้วยคริปโตเคอเรนซีได้
ด้วยการดำเนินชีวิตแบบ New Normal และเทคโนโลยี AR, VR ที่ทำให้ท่านสามารถทำธุรกรรม ซื้อ-ขาย หรือพบปะกันทางไกลได้ ทำให้ผู้บริโภคหันมาใช้ โลกเสมือนจริงมากยิ่งขึ้นและในบางครั้งโลกเสมือนจริงยังให้อิสระในการสร้างตัวตรแบบที่ต้องการเพื่อกำหนดภาพ Avatar ของตัวเองได้ นอกจากธุรกิจเกม แฟชั่น ที่ให้ผู้บริโภคได้สัมผัสประสบการณ์จากโลกเสมือนจริงทั้งการเล่นเกมและซื้อสินค้าแล้ว ธุรกิจอื่น ๆ ก็เริ่มปรับตัวใช้โลกเสมือนจริงด้วยเช่นกัน เช่น “ร้านอาหารเสมือนจริง” ของแมคโดนัลด์ที่กำลังจะเกิดขึ้นเร็ว ๆ นี้
ช่วงเวลาก่อนการเข้าสู่ตลาดในยุคดิจิทัล ธุรกิจต่าง ๆ เคยเน้นการให้ความสำคัญของสรพพคุณสินค้า (Functional Benefit) มากกว่า และค่อยเริ่มสร้างการตอบโจทย์คุณค่าทางอารมณ์ (Emotional Benefit) เช่นการทำ Sensory Marketing หรือการสร้างแบรนด์ให้ผู้บริโภครับรู้
แต่ในยุคปัจจุบันและแนวโน้มของการตลาดดิจิทัลในอนาคต เพราะการแข่งขันที่สูงทำให้ผู้บริโภคมีตัวเลือกที่มากขึ้น การตอบโจทย์เพียงแค่ด้านสรรพคุณ และคุณค่าทางอารมณ์อาจไม่เพียงพอ ทำให้แบรนด์ต้องนำประโยชน์ทั้งสองด้านมาผสานกันอย่างลงตัว
กล่าวคือต้องสร้างความประทับใจให้ผู้บริโภค และต้องมีตัวตน หรือข้อมูลที่จับต้องได้ผ่านโลกออนไลน์ ซึ่งป็นโจทย์ที่ทำให้แบรนด์ต้องวางกลยุทธ์ให้เหมาะสมว่าควรจะมัดใจลูกค้าด้วยอารมณ์ และจังหวะไหนควรคุยกับลูกค้าด้วยเหตุและผล
Emerging Platform คือ Social Media ที่เพิ่งเกิดใหม่ หรือเพิ่งเป็นที่นิยมในยุคหลัง ๆ เช่น Twitter, TIKTOK, Spotify ซึ่งเป็นโอกาสสำคัญในการที่แบรนด์จะกระโดดเข้าไปเป็นเจ้สแรก ๆ ของการทำการตลาดออนไลน์ เพราะ Platform ที่เกิดใหม่เหล่านี้ทำให้แบรนด์มีคู่แข่งน้อย ไม่แย่งส่วนแบ่ง Audience กัน และเจ้าของแพลตฟอร์มยังเปิดโอกาสให้ผู้ใช้เข้าถึงคอนเทนต์ขอเราค่อนข้างมาก
แต่เมื่อเจ้าของแพลตฟอร์มเริ่มเน้นการขายโฆษณาให้กับแบรนด์เมื่อไหร่ ก็เป็นไปได้ว่าปริมาณผู้เข้าถึงคอนเทนต์ของเราจะน้อยลงฮะ
Omni Channel คือการทำตลาดที่รวมทุกช่องทางติดต่อไว้ในที่เดียว เพราะแนวโน้มพฤติกรรมของผู้บริโภคในตลาดออนไลน์ ทำให้แพลตฟอร์มพยายามสร้าง Customer Journey ให้จบด้วยแพลตฟอร์มเดียว ไม่ว่าจะเป็นการหาข้อมูล คุยแชท หรือจ่ายเงิน
ด้วยพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีแนวโน้มไปทางนี้ทำให้บาง Social Media ขนาดใหญ่ เช่น Facebook หรือ Instrageam เริ่มมี Market Place และ Shop เป็นของตัวเอง แม้กระทั่ง E-Commerce อย่าง Lazada และ Shopee เองก็เริ่มหันมาใส่ใจด้าน SEO ละการให้ข้อมูลอย่างครบถ้วนที่หน้า Page
เพราะการดูแลความสะดวกให้ลูกค้าคือสิ่งที่สำคัญที่สุด ทำให้การที่แพลตฟอร์มมีข้อมูลที่ครบถ้วน มีภาพของสินค้าที่ชัดเจน ตัวแพลตฟอร์มที่แสดงผลอย่างเป็นมิตรกับลูกค้า ทำให้การตัดสินใจซื้อเป็นเรื่องง่าย ระบบมั่นคงมากพอที่จะทำให้การจ่ายเงินไม่ติดขัด และมีแอดมินคอยให้บริการตอบคำถามเพื่อตอบข้อสงสัย ที่จะส่งผลเรื่องการปิดการขายและภาพลักษณ์แบรนด์เช่นกัน
“ยิ่งเข้าสู่โลกออนไลน์ แบรนด์ยิ่งต้องจริงใจ”เพราะโลกออนไลน์เป็นโลกที่เราสามารถสร้างตัวตนอย่างเสรีได้มากกว่าโลกออฟไลน์ ผู้บริโภคจึงมองหาความจริงใจของแบรนด์ที่มากขึ้น แบรนด์จคงต้องมีความโปร่งใส ตรวจสอบได้และนำเสนอแคมเปญต่าง ๆ ด้วยความจริงใจ
การแสดงออกถึงความจริงใจมีหลายวิธี เช่น การพยายามไม่เลียนแบบแบรนด์อื่น การใส่ใจผู้บริโภค และการแสดงความรับผิดชอบเมื่อเกิดข้อผิดพลาด
ยักษ์ย๊ากส์ขอสรุปตรงนี้นะฮะ
ทั้งหมดที่ยักษ์ย๊ากส์ได้กล่าวมาด้านบนคือแนวโน้มการตลาดออนไลน์ทั้ง 7 ข้อ ที่กำลังเกิดขึ้น ซึ่งเรามองว่าสิ่งนี้กำลังขึ้นแท่นกระแสหลักในการทำธุรกิจแ และเพราะความเป็นกระแสหลักจึงทำให้เกิดเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ซึ่งแบรนด์ควรอัปเดตความรู้อยู่เสมอเพื่อเตรียมความพร้อมของทีม และปรับตัวรองรับแนวโน้มใหม่ ๆ ที่กำลังเข้ามาฮะ
- ยักษ์ย๊ากส์ บริษัทการตลาดออนไลน์ -